วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

"Blended Learning กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21"

Abstract
          Nowadays, technology plays an important rule in 21st Century education as a tool for supporting learners to inquire their interested information. From authentic resources, they can analyze and summarize their own knowledge. Moreover, it supports to learn by searching which leading to life-long learning. From educational development plan article 18, Ministry of education need to reform education by using technology to be part of learners’ inquiry. Additionally, it is helpful to classroom instruction so the instructional model, which is able to assist the learners to think, to analyze, to solve the problems, and to interact among learners by using the flexible lessons to emphasize  the learners’ inquiry, to give supported learning, and to make learners respect to the values of various differences with Child-center principle, is the blended learning. The blended learning is the learning process streaming from various learning strategies with considering with learners, context, content, and situation to response learning in different learners’ characteristic. It can manage the instruction both inside and outside classroom with using online and off-line educational technology to enhance learners to learn effectively, to build their skills, and to achieve the learning objectives. Educators or related educational organization should apply the blended learning to educational development because it’s according to the educational plan and suitable for learners in every level. To reform the education, educators should determine the guideline for applying the blended learning in technological administration, curriculum, instructors, and learners to attain the educational targets, to develop the life-long learning, and get ready for the new experience.

บทคัดย่อ
            เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21มากขึ้น  ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้ผู้เรียนในการค้นคว้าหาข้อมูลตามสิ่งที่สนใจ  จากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เกิดการวิเคราะห์และแปลงออกมาเป็นความรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ โดยเกิดจากการสืบค้น  นำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต จากแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่สิบเอ็ด กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการค้นคว้าของผู้เรียน รวมถึงเป็นตัวช่วยในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนที่สนับสนุนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และการมีปฏิสัมพันธ์กันของผู้เรียน โดยใช้บทเรียนที่มีความยืดหยุ่น เน้นการสืบค้น ให้การเรียนรู้ที่มีการส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียน และผู้เรียนเคารพคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ  การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนหลากหลายวิธี  โดยคำนึงถึงผู้เรียน สภาพแวดล้อม เนื้อหา สถานการณ์ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยสามารถจัดการเรียนการสอนทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยมีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบออนไลน์และออฟไลน์มาเป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด เกิดทักษะ และเกิดการเรียนรู้ที่ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ นักพัฒนาการศึกษา บุคคลหรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงควรนำรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเข้ามาพัฒนาการศึกษาเนื่องจากมีความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาการศึกษา และมีความเหมาะสมกับผู้เรียนในทุกระดับชั้น โดยกำหนดแนวทางการปรับปรุงด้านการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี ด้านหลักสูตร ด้านครูผู้สอน และด้านผู้เรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนการศึกษาที่ต้องการให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันเวทีโลก

คำสำคัญ  Blended Learning, การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

* อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสือสารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
** นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสือสารการศึกษา
ภาควิชาเทคโนโลยีและสือสารการศึกษา 


บทนำ
            การจัดการศึกษาของไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ได้กล่าวถึงรูปแบบของการจัดการศึกษาว่า การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ (1) การศึกษาในระบบ ซึ่งเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา  หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน (2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหา และหลักสูตรจะต้องมีความเหมาสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้ อื่นๆ
บริบทการศึกษาไทยนั้น รูปแบบการจัดการศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาในระบบ ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้แบบเผชิญหน้าเป็นสำคัญ โดยครูเป็นผู้มอบความรู้เพียงฝ่ายเดียว ในขณะที่การศึกษานอกระบบก็เช่นเดียวกัน แต่อาจแตกต่างกันด้วยวิธีการ และคุณลักษณะของผู้เรียนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน ทำให้การเรียนรู้ การรับรู้มีความแตกต่างกับผู้เรียนกลุ่มแรก ฉะนั้นในการจัดการเรียนการสอนนั้นควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และบริบทสภาพแวดล้อมทุกด้านที่มีผลกระทบต่อการศึกษา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ มุ่งให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันเวทีโลก ปัญหาที่มีความสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข คือ ปัญหาด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์มากกว่าการนำเนื้อหาสาระในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการเรียนการสอน และการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูและนักเรียนนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อยประกอบกับสถานศึกษามีจำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับสื่อไม่เพียงพอ ล้าสมัยรวมทั้งครูยังไม่สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริงและผู้เรียนไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองประกอบกับสถานศึกษามีจำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับสื่อไม่เพียงพอ ล้าสมัย รวมทั้งครูยังไม่สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างแท้จริงและผู้เรียนไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหานี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจและความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต

ภาพที่ 1 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ในยุคศตวรรษที่ 21 กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษามากขึ้น ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้ผู้เรียนในการค้นคว้าหาข้อมูลตามสิ่งที่สนใจ  โดยแหล่งข้อมูลที่ค้นหานั้นต้องมีความน่าเชื่อถือ เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และแปลงออกมาเป็นความรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ โดยเกิดจากการสืบค้น  นำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการที่ผู้เรียนได้รับการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยและต้องการที่จะหาคำตอบ ต้องการที่จะเรียนรู้ไปเรื่อยๆถึงแม้ว่าจะสำเร็จการศึกษาแล้ว ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหารูปแบบการเรียนการสอนที่สนับสนุนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และการมีปฏิสัมพันธ์กันของผู้เรียน โดยใช้บทเรียนที่มีความยืดหยุ่น เน้นการสืบค้น ให้การเรียนรู้ที่มีการส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียน และผู้เรียนเคารพคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือ Blended Learning เป็นรูปแบบการสอนรูปแบบหนึ่งภายใต้กระแสแห่งการพัฒนาการด้านเทคโนโลยี เป็นการบูรณาการการปรับใช้เทคโนโลยีกับการสอนแบบปกติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ปรากฏในผลการดำเนินการที่ผ่านมา ในบทความนี้จึงนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการนำรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ
        1. ความหมายและความสำคัญ
        2.
 การใช้งานจริง และ กรณีศึกษา 
        3. ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบ 
        4. ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาไทย
ภาพที่ 2 แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน

ภาพที่ 4 การเรียนรู้แบบออนไลน์
ภาพที่ 3 การเรียนรู้แบบเผชิญหน้า



1. ความหมายและความสำคัญ 
         ในวงการศึกษาของไทยได้มีนักวิชาการทางการศึกษามีผู้ให้ความหมายและคำนิยามของ การเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือ Blended Learning นั้น มีผู้ให้นิยามและการนำไปใช้ในบริบทต่างๆ ดังนี้
         ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ(2556) กล่าวว่า จัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ( Blended Learning)เป็นการจัดการเรียนทีผสมผสานระหว่างการเรียนแบบออนไลน์ กับการเรียนแบบปกติ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ถ้ามองว่าการเรียนรู้แบบผสมผสานควรเป็นสิ่งที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนแบบผสมผสาน คือ สัดส่วนระหว่างการเรียนแบบออนไลน์ กับการเรียนแบบปกติ ที่ขาดต่อความเข้าใจ คือ การสอนบนเว็บให้เป็นการสอนหลักหรือการสอนเสริมจากการเรียนปกติเป็นการสอนหลักแล้วนำการสอนออนไลน์เป็นการสอนเสริม หรือการเรียนออนไลน์เป็นการสอนหลักและการเรียนปกติ เป็นการสอนเสริม           
         รุจโรจน์  แก้วอุไร (2550) กล่าวว่า เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
         วิกิพีเดีย (2007) ให้ความหมายของการเรียนแบบผสมผสานว่า เป็นการรวมการเรียนรู้หลายรูปแบบ การเรียนแบบผสมผสานจะสมบูรณ์ได้ด้วยการใช้การผสมผสานระหว่างทรัพยากรการเรียนรู้ที่เป็นสื่อเสมือนจริง และทรัพยากรทางกายภาพ เช่น การรวมเอาสื่อที่ต้องใช้เทคโนโลยีกับการเรียนในห้องเรียนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้          
         Allen and Seaman (2005) ให้คำจำกัดความของการเรียนแบบผสมผสานว่ามีสัดส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอออนไลน์ระหว่างร้อยละ 30 ต่อร้อยละ 79 คำอธิบายของการเรียนแบบผสมผสาน คือ การเรียนที่ผสมการเรียนออนไลน์และการเรียนในชั้นเรียน โดยที่เนื้อหาส่วนใหญ่ส่งผ่านระบบออนไลน์ ใช้การอภิปรายออนไลน์และมีการพบปะกันในชั้นเรียนบ้าง และมีส่วนที่น่าสนใจว่าการอภิปรายออนไลน์ถือเป็นการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ เช่นกัน สำหรับการเรียนในรูปอื่นๆ อย่างเช่น การเรียนแบบปกติจะไม่มีการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ การเรียนแบบใช้เว็บช่วยสอนจะมีการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ร้อยละ 1 – 29และการเรียนออนไลน์มีการส่งผ่านเนื้อหาร้อยละ 80 – 100     
         Driscoll (2002)  ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบผสมผสานไว้ 4 แนวคิด ได้แก่
         1.       การรวมหรือการผสมเทคโนโลยีการเรียนการสอนของเว็บ ( web-based technology)
เช่น การเรียนเสมือนจริงแบบประสานเวลา ( live virtual classroom) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-paced instruction) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (collaborative learning) วิดีโอสตรีมมิ่ง (streaming video)
         2.       การรวมวิธีการสอนที่หลากหลาย เข้าด้วยกัน (Combine various pedagogical
approaches) เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรนิยม หรือกลุ่มพุทธิปัญญา เป็นต้น เพื่อการสร้างผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุด โดยการใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนก็ได้
         3.       การรวมเทคโนโลยีการเรียนการสอนทุกรูปแบบ (Combine any form of
instructional technology with face to face instruction) เช่น วีดิทัศน์ ซีดีรอม การเรียนผ่านเว็บ หรือภาพยนตร์ โดยผสมผสานกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดยอาจารย์ผู้สอน ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและแพร่หลายมากที่สุด
         4.       การรวมเทคโนโลยีการสอนกับการทำงานจริง (Combine instructional technology
with actual job tasks) เพื่อสร้างความสอดคล้องกันระหว่างการเรียนรู้และสภาพการทำงานจริง      
         Charles R. Graham (2012)  ให้ความหมายว่า เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้ากับการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์          
ภาพที่ 5 เครื่องมือ วิธีการ และแนวทางการการเรียนรู้แบบผสมผสาน
          Horn and Staker(2011) แห่ง Innosight Institute ได้นิยามเกี่ยวกับการเรียนแบบผสมผสานของผู้เรียนในระดับ K-12 หมายถึง การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้อย่างเป็นอิสระผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยนักเรียนสามารถควบคุมตัวแปรทางการเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งในด้านเวลา สถานที่ แนวทางการเรียนรู้และอัตราการเรียนรู้ของตนเอง

         จากที่การศึกษาความหมายของนักวิชาการทางการศึกษา สรุปได้ว่า ความหมายของ
การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนหลากหลายวิธี  โดยคำนึงถึงผู้เรียน สภาพแวดล้อม เนื้อหา สถานการณ์ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยสามารถจัดการเรียนการสอนทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยมีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบออนไลน์และออฟไลน์มาเป็นส่วนประกอบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด เกิดทักษะ และเกิดการเรียนรู้ที่ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ประสงค์
         เพื่อเป็นการยืนยันแนวทางของการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ว่าเมื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบแล้ว สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของรูปแบบนั้นคือการที่กลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และมีแนวทางการพัฒนาต่อยอดรูปแบบอย่างแพร่หลาย คณะผู้แต่งจึงได้รวบรวมกรณีศึกษาของการใช้รูปแบบมาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาดังตัวอย่าง

 2. กรณีศึกษาการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning)
            มีงานวิจัยที่เป็นกรณีศึกษาการนำการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การพัฒนารูปแบบ สังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย
            ปรัชญนันท์ นิลสุขและปณิตา วรรณพิรุณ (
2556) การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนแบบผสมผสานมีการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในหลายวิธีและหลายรูปแบบ มีทั้งการวิจัยการเรียนการสอนแบบผสมผสานในการสอนภาษาอย่างภาษาสเปน และภาษาโปรตุเกส โดยการให้นักศึกษาได้เรียนทั้งในห้องเรียนปกติและการใช้สื่อสารทางภาษาผ่านระบบออนไลน์ระหว่างประเทศ
           (
Hughes, 2008) ขณะที่มหาวิทยาลัยเปิดของอิสราเอลก็มีการออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยผู้เรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะจัดให้มีการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบออนไลน์และแบบปกติ
            พลอยไพลิน ศรีอ่ำดี (2556) ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย  เป็นการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา เรื่องหลักการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) เพื่อเปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 40 คน จากการสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาในการทดลอง 8สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา2) บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาของนักเรียน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ ค่าที (t-test แบบ Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา อยู่ในระดับดีมาก โดย มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 79.73 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71
            สุวุฒิ ตุ้มทอง และ ผศ.ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ (2555) การพัฒนาและประเมินรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานทักษะวิชาชีพระดับสากล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 4 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานทักษะวิชาชีพระดับสากล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา สมรรถนะ ตามมาตรฐานทักษะวิชาชีพระดับสากลมีความเหมาะสมระดับมากและ 2. รูปแบบในส่วนของขั้นตอนการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนา สมรรถนะตามมาตรฐานทักษะวิชาชีพระดับสากลมีความเหมาะสมระดับมาก
            พัชนี กุลฑานันท์ พิสิฐ เมธาภัทร ไพโรจน์ สถิรยากร และมนต์ชัย เทียนทอง (2554) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูแบบผสมผสานในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and development) และประการที่สอง เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบโดยใช้ CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการฝึกอบรมครูแบบผสมผสานในการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมจำนวน 17คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินหลักสูตร จำนวน 5 คน 3) ครู จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการฝึกอบรมครูตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคเดลฟาย รูปแบบการผสมผสานใน 2 ลักษณะ 1) วิธีการฝึกอบรมระหว่างการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงาน โดยวิธีการฝึกอบรม แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1.1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 1 ”พัฒนาเค้าโครง เชื่อมโยงนวัตกรรม นำความรู้สู่ห้องเรียน„ จำนวน 2 วัน 1.2) การเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงาน ”พากเพียรรวบรวมข้อมูล เพิ่มพูนกัลยาณมิตร„ 1.3) การอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 2 ”คิดวิเคราะห์ สรุปผล ฝึกฝนเขียนรายงาน„ จำนวน 2 วัน 2) กิจกรรมการฝึกอบรม 8 ลักษณะ ได้แก่ การบรรยาย สนทนากลุ่มการนำเสนอผลงาน การฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนิเทศติดตามแบบกัลยาณมิตร การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการฝึกอบรม ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล เท่ากับ 88.16/83.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการฝึกอบรม มีค่า 0.6235 คิดเป็นร้อยละ 62.35 แสดงว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความก้าวหน้าทางการเรียน ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการฝึกอบรม ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน ทำรายงานการวิจัยในชั้นเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับดี
ภาพที่ 6 นำเสอนงานวิจัยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานระดับนานาชาติภายในประเทศไทย
ภาพที่ 7 นำเสอนงานวิจัยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานระดับนานาชาติในต่างประเทศ
          
             สาลินันท์ เทพประสาร มนต์ชัย เทียนทอง และจรัญ แสนราช (2553) ได้ทาการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันที่มีระบบสแคฟโฟลด์สนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบที่สาคัญของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน ที่มีระบบสแคฟโฟลด์สนับสุน ประกอบด้วย7 โมดูลคือ โมดูลผู้เรียน โมดูลผู้สอน โมดูลเนื้อหา โมดูลการเรียนรู้ร่วมกัน โมดูลสแคฟโฟลด์ โมดูลการประเมินผล และโมดูลการติดต่อสื่อสาร แต่ยังไม่ได้วิเคราะห์ว่าสัดส่วนของการผสมผสานระหว่างการเรียนแบบออนไลน์กับการเรียนแบบปกติจะต้องใช้สัดส่วนเท่าใด

            จากการ ศึกษาผลการนำ Blended Learning ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การสังเคราะห์รูปแบบ การพัฒนารูปแบบในการอบรม พบว่า ในการศึกษากรณีศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบผสมผสาน นำไปสู่ทิศทางของการใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยในอดีตนั้นการเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ Face to Faceการเรียนแบบออนไลน์ e-Learning ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกัน เพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกัน เพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว   โดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) จึงเป็นที่นิยมของคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษาที่นำมาพัฒนาการเรียนการสอนและเห็นผลชัดเจน ด้วยจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้มาก และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษามีความพร้อมในการเรียนรู้แบบออนไลน์ ที่สามารถเพิ่มการติดต่อและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะขยายแนวคิดออกไปสู่การศึกษาของไทยได้ทุกระดับ

3. ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบของ Blended Learning
         ดร. อภิชาติ อนุกูลเวช (2012) ได้กล่าวถึง ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย Blended learning ดังนี้
         ประโยชน์ และข้อดี  ของ Blended Learning
             1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
             2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
             3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
             4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
             5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
             6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
             7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
             8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
             9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
             10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
             11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
             12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
             13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
             14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
             15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
             16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อเสีย
             1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
             2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
             3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
             4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
             5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
             6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคา อุปกรณ์ค่อนข้างสูง
             7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
             8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
             9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
             10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
             11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to face (เรียลไทม์)

            ฐิติชัย รักบำรุง (2555) ได้กล่าวถึงข้อดี และข้อเสีย ของ Blended Learning  ดังนี้
         ข้อดี
             1. ด้านความยืดหยุ่นทางการเรียน ผู้เรียนสามารถเข้าร่วมอภิปราย ในช่วงเวลาและสถานที่ ที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับตนเอง
             2. ด้านการมีส่วนร่วมทางการเรียน ผู้เรียนไม่รู้สึกกดดัน
             3. ปลูกฝังการหาความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผู้เรียนมีเวลาในการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น ในการจัดเตรียมหรือหาความรู้อย่างลึกซึ้งและชัดเจน ตลอดจนใส่ใจในการหาคำตอบ
         ข้อเสีย
            
1. ด้านการมีส่วนร่วมทางการเรียน การเรียนลักษณะนี้ไม่สามารถสร้างหรือสนับสนุนการแลกเปลี่ยน การเชื่อมโยงทางความคิดระหว่างผู้เรียนรวดเร็วเท่ากับการเรียนภายในชั้นเรียน
            2. อาจก่อให้เกิดนิสัยการผลัดวันประกันพรุ่ง
            3. ขาดความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์

        ผลกระทบของการเรียนแบบผสมผสาน
        ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงสี (2555) ได้กล่าวถึงผลกระทบของการเรียนแบบผสมผสานของ Mesi ได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
           1.  การเรียนการสอนแบบชั้นเรียนจะน้อยลง สถาบันการศึกษาและครูผู้สอนมีความเครียดน้อยลงกับการสอนทุกเนื้อหาวิชาให้ครบตามแผนการสอน ด้วยการบรรยายในชั้นเรียน เนื่องจากมีช่องทางอื่นๆ ที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้ทดแทนได้
           2.   เนื้อหาต่างๆมีการถ่ายโอนในรูปแบบผสมผสานโดยการสอนในชั้นเรียนจะมีการบรรยายน้อยลง ส่วนการปฏิสัมพันธ์มีมากขึ้น ภาพของนักปราชญ์บนเวทีน้อยลง
           3.   ความเข้มข้นของประสบการณ์การเรียนรู้มีมากขึ้นจากการรวบรวมผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนพบว่ามีความถี่ของการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับครูฝึก และช่วงระยะเวลาของความสนใจมีเพิ่มขึ้นกว่าการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง หรือจากการเรียนในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว
          4.  ภาระงานของครูเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการสอนแบบปกติ เนื่องจากครูต้องเตรียมวิธีการและสื่อสนับสนุนต่างๆในการเรียนรู้แบบใหม่นี้เพื่อตอบสนองความคาดหวัง และความต้องการของผู้เรียน

        ากบทความข้างต้นผู้ศึกษาค้นคว้าได้สรุปได้ว่า ข้อดี ของการเรียนรู้แบบผสมผสานจะมีความเป็นอิสระต่อการเรียนของผู้เรียนมากขึ้น ทั้งในด้านของเวลาและสถานที่ของการเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูและผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางการเรียนมากขึ้นโดยที่ผู้เรียนไม่รู้สึกกดดัน  มีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายและน่าสนใจ โดยการนำเทคโนโลยีที่หน้าสนใจในปัจจุบันมาใช้ในการเรียนการสอน  ครูผู้สอนมีความเครียดน้อยลงกับการสอนทุกเนื้อหาวิชา ด้วยมีช่องทางอื่นที่สามารถทดแทนได้ ส่วนข้อเสีย ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ราคาของอุปกรณ์ค่อนข้างสูง ความล่าช้าของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของบริบทของผู้เรียนที่มีความแตกต่างทำให้กิจกรรมการเรียนรู้เกิดปัญหา อีกทั้งภาระงานของครูจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องเตรียมวิธีการและสื่อสนับสนุนใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

          หากพิจารณาแล้วเมื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียก็พอจะทราบถึงน้ำหนักของข้อดีและประโยชน์ของการที่จะนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานไปพัฒนาปรับปรุงข้อเสียต่างๆ เพื่อปิดช่องว่างที่เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด ก็รูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน Blended Learning จะสามารถพัฒนาการศึกษาไทยที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาขีดความสารถการเรียนรู้และทักษะที่ผู้สอนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางในการที่จะนำไปใช้และพัฒนาต่อยอดรูปแบบการเรียนรู้

             
4. แนวทางและความเป็นไปได้ในการนำ Blended Learning ไปพัฒนาการศึกษาของไทย
         จากสภาพปัญหาจากการจัดและพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาในระยะที่ผ่านมานั้น พบว่ายังมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาด้านคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสภาพการบริหารและจัดการศึกษาที่ยังต้องเพิ่มเติมในด้านประสิทธิภาพ  การนำ Blended Learning มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 จัดเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อให้การพัฒนาการศึกษานั้นมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น และหลากหลาย อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด ซึ่งมีแนวทางและกระบวนการในแต่ละด้าน ดังนี้  
      
1. ด้านการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี   
                 รัฐต้องวางแผน และพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter University Network : Uni-Net) โดยเชื่อมโยงเครือข่ายความเร็วสูงระหว่าง มหาวิทยาลัย และ สถาบันการศึกษาในต่างประเทศ รวมทั้งจัดหาเงินทุนเพื่อเตรียมทรัพยากรทางเทคโนโลยี เช่น ระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ที่ใช้สอน และคอมพิวเตอร์ที่ใช้เรียน  นอกจากนี้สถานศึกษาควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสื่อที่ทันสมัยและมีคุณภาพ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้เพื่อศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองของครูและผู้เรียน

ภาพที่ 8 เทคโนโลยีทางการศึกษาที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 
        2. ด้านเนื้อหาหลักสูตรวิชา
                  พัฒนาหลักสูตร รูปแบบ และกระบวนการจัดการศึกษาโดยใช้ Blended Learning ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับผู้เรียน ความเปลี่ยนแปลงหรือความก้าวหน้าทางวิชาการ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Uni-Net เพื่อรองรับการศึกษาทั้งระบบ
ภาพที่ 9 สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาการศึกษา  
         3.ด้านผู้สอน 
                  พัฒนาผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูและนักเรียนนําความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ภาพที่ 10 การอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา 
         4.ด้านผู้เรียน
                  รณรงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ
ภาพที่ 11 ส่งเสริมการเข้าถึงระบบเครือข่ายไร้สาย และเทคโนโลยีทางการศึกษา
บทสรุป
                  การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนหลากหลายวิธี  โดยคำนึงถึงผู้เรียน สภาพแวดล้อม เนื้อหา สถานการณ์ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยสามารถจัดการเรียนการสอนทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยมีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบออนไลน์และออฟไลน์มาเป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด เกิดทักษะ และเกิดการเรียนรู้ที่ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ประสงค์  สำหรับข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้นักพัฒนาการศึกษา บุคคลหรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้ใช้เพื่อประกอบการพิจารณา การปรับปรุงด้านการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี ด้านหลักสูตร ด้านครูผู้สอน และด้านผู้เรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนการศึกษาที่ต้องการให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันเวทีโลก

อ้างอิง : 
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                   (ฉบับที่ 2) .. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ.(2556)การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน : สัดส่วนการผสม 
                  ผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. ปีที่ 25 ฉบับที่ 85 มกราคม-มีนาคม 2556. 
สาลินันท์ เทพประสาร มนต์ชัย เทียนทอง และจรัญ แสนราช. (2553 ). ผลการสังเคราะห์รูปแบบการ
                  เรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันที่มีระบบสแคฟโฟลด์.
สุวุฒิ ตุ้มทอง ผศ.ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ (2555). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดย
                  ใช้เทคนิคการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานทักษะวิชาชีพระดับสากล. 
                 วารสารวิทยบริการ. ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2555.
พัชนี กุลฑานันท์ พิสิฐ เมธาภัทร ไพโรจน์ สถิรยากร และมนต์ชัย เทียนทอง (2554). การพัฒนารูป
                 แบบ
การฝึกอบรมครูแบบผสมผสานในการทำวิจัยในชั้นเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ
                 มหาสารคาม
; ว.มรม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2:พฤษภาคม - สิงหาคม 2554.
พลอยไพลิน ศรีอ่ำดี (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา
                 วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์
                 ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
 2 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสาร
                 วิชาการ
 Veridian E-Journal ปีที่ 6ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2556.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://nipatanoy
                  .wordpress.com/. 
วันที่ค้นข้อมูล : 8 กุมภาพันธ์ 2557).      
Allen and Seaman. (2005). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก  http://nipatanoy.wordpress.com/. 
                  (วันที่ค้นข้อมูล: 8กุมภาพันธ์ 2557)
Charles R. Graham. (2012). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://nipatanoy.wordpress.com/. 
                  (วันที่ค้นข้อมูล: 8กุมภาพันธ์ 2557)  
Driscoll, M. (2002). “Blended Learning: Let’s get beyond the hype.” [ออนไลน์].
                  เข้าถึงได้จาก
http:// www-07.ibm.com/services/pdf/blended_
learning.pdf
. (วันที่ค้นข้อมูล : 10 กุมภาพันธ์ 2557) Horn and Staker.(2011). [ออนไลน์].
                 เข้าถึงได้จาก 
http://nipatanoy.wordpress.com/. (วันที่ค้นข้อมูล: 8กุมภาพันธ์
                 2557)
Wikipedia. (2007) . [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://nipatanoy.wordpress.com/. 
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 8 กุมภาพันธ์ 2557)     
รุจโรน์  แก้วอุไร.(2550). Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน. [ออนไลน์]. 
                 เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/225358. 
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 8 กุมภาพันธ์ 2557)








นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  นายวินัย ปานโท้
  นายยุทธนา พันธ์มี
  นายวสันต์ ศรีหิรัญ
  นางสาวพันธุ์ทิพย์ ลิมปะพันธุ์
  นางสาวรัตนาภรณ์ ลอสวัสดิ์
  นางสาวเพ็ญภรณ์ เหลี่ยวเจริญวัฒน์